วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

หลวงปู่นาค โสภโณ วัดระฆังโฆสิตาราม


ประวัติ หลวงปู่นาค วัดระฆัง

หลวงปู่นาค โสภโณ วัดระฆังโฆสิตาราม  กรุงเทพฯ

ข้อมูลประวัติ
เกิด :  วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม 2427  ตรงกับขึ้น 10 ค่ำ เดือน 9 ปีวอก  เป็นบุตรของ นายป้อม  นางสวน  มะเริงสิทธิ  พื้นเพเป็นชานครราชสีมา
บรรพชา :     ณ วัดบึง  โคราช
อุปสมบท :    อายุ 21 ปี พ.ศ.2448  ณ วัดระฆังโฆสิตาราม
มรณภาพ :    วันศุกร์ที่ 15 มกราคม 2514  เวลา 04.45 น.
                 ณ โรงพยาบาลศิริราช
รวมสิริอายุ  :          87 ปี 66 พรรษา
วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
                พระเนื้อผงรุ่นแรก สร้างปี 2485  ประกอบด้วยพิมพ์ทรงเทวดาอกตัน-อกร่อง  เทวดาขัดเพชร  และพิมพ์สามเหลี่ยม
                พระเนื้อผงรุ่นสอง สร้างปี 2495  ประกอบด้วยพิมพ์สมเด็จโต นั่งบริกรรม  พิมพ์ปรกโพธิ์  ฝังและไม่ฝังตะกรุด  พิมพ์พระประธาน ฝังและไม่ฝังตะกรุด  นางพญา  คะแนนฐานสิงห์  รูปหล่อ  เหรียญโล่  และเหรียญข้าวหลามตัด   นอกจากนี้ยังมีอีกหลายรุ่น สร้างในปี พ.ศ.2499,2500,,2504,2507,2509  และรุ่นสุดท้ายคือรุ่นแซยิด 7 รอบ ปี 2511       
             พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา:พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง  เมตตามหานิยม   
พระ สมเด็จของหลวงปู่นาค วัดระฆัง เป็นพระสมเด็จที่มีส่วนผสมของเศษแตกหักของสมเด็จวัดระฆังที่ท่านได้เก็บรวบ รวมไว้เป็นจำนวนมากจากการที่มีประชาชนนำเศษแตกหักของพระสมเด็จมาทิ้งไว้ที่ วัดและการค้นพบพระสมเด็จจำนวนมากบนหลังคาโบสถ์วัดระฆังซึ่งท่านได้นำพระ สมเด็จที่แตกหักทั้งหมดร่วมกับการสร้างผงพุทธคุณของท่านตามตำรับของสมเด็จโต ทำให้พระสมเด็จของท่านโดยเฉพาะพระในยุคต้น ๆ ช่วงปี 2485-2495 มีเนื้อหามวลสารจัดจ้านน่าบูชายิ่งนัก ซึงนับว่าเป็นพระตระกูลสมเด็จที่มีเนื้อหามวลสารของพระสมเด็จวัดระฆังผสมไว้ มากที่สุด ที่ดูจะสูสีก็มีเพียงพระสมเด็จของพระครูมูล วัดสุทัศน์ รุ่นพิมพ์ทรงเจดีย์ 2485 เท่านั้น อีกทั้งพุทธคุณก็สูงล้ำในด้านเมตตามหานิยม เป็นที่เสาะแสวงหากันอย่างมาก
แต่ เนื่องจากท่านได้สร้างพิมพ์ทรงของพระสมเด็จต่าง ๆ ไว้มากมาย   ในวงการจึงนิยมเล่นหากันเฉพาะพิมพ์นิยมบางพิมพ์ของท่านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ตัวใครเห็นก็ทราบว่าเป็นพระของท่าน เช่น พิมพ์เทวดาสามชั้นหูบายศรี พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์ชิ้นฟัก พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จโต พิมพ์ซุ้มระฆัง เป็นต้น ส่วนพิมพ์อื่น ๆ ไม่ค่อยนิยมเช่าหากัน    สำหรับพระสมเด็จของท่านที่มีเนื้อหาจัดจ้าน แก่ผงพระสมเด็จ หรือ มีการฝังตะกรุดไว้เป็นพิเศษ ตั้งแต่ 1ดอก 2 ดอก หรือ 3 ดอก จะหาได้ยากมากและเป็นที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยจะเช่าหากันในราคาสูงกว่าปกติหลายเท่า
เป็นที่น่าแปลกใจมากพระสมเด็จ ของหลวงปู่นาค วัดระฆังไปมีชื่อเสียงโด่งดังในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์เป็นอย่างมาก ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวจากประเทศดังกล่าวมากว้านซื้อกลับไปยังประเทศของตน เป็นจำนวนมาก ทำให้จำนวนพระสมเด็จของหลวงปู่นาค วัดระฆังในปัจจุบัน มีจำนวนลดลงเป็นอย่างมาก ซึ่งในอนาคตพระชุดนี้คงจะดังระเบิดด้วยค่านิยมไม่แพ้พระสมเด็จบางขุนพรหม ปี 09 เป็นแน่แท้

 สิ่งประทับใจในการศึกษาพระสมเด็จของหลวงปู่นาค คือการค้นพบสิ่งที่เรียกว่าสูตรเนื้อพระสมเด็จ จากพระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

             ซึ่งในช่วงระยะแรกเริ่มในการศึกษาพระสมเด็จนั้นได้ไปที่วัดระฆังบ่อย ๆ เพื่อไปสวดมนต์พระคาถาชินบัญชรต่อหน้าพระรูปหล่อสมเด็จพุฒาจารย์โต ณ วัดระฆังโฆสิตาราม และใส่เงินทำบุญกับตู้บริจาคของมูลนิธิพระสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี พร้อมกันไปด้วย ซึ่งผู้นิยมพระสมเด็จมีความเชื่อกันว่าผลบุญที่เกิดจะทำให้มีโอกาสได้ครอบ ครองพระสมเด็จแท้ๆ สักองค์หนึ่ง ทำให้ได้มีโอกาสศึกษาพระสมเด็จที่สร้างโดยหลวงปู่นาค วัดระฆังที่สร้างไว้มากมายหลายพิมพ์ทรง โดยเฉพาะที่สร้างไว้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2584 และ ปี พ.ศ. 2595 ซึ่งเป็นพระสมเด็จที่ท่านได้จัดสร้างไว้โดยมีมวลสารของพระสมเด็จวัดระฆังที่ แตกหักผสมไว้เป็นจำนวนมากมายมหาศาล ซึ่งเป็นเศษพระแตกหักจากผู้ที่นำมาไว้ที่วัดและพระสมเด็จวัดระฆัง ที่พบบนหลังคาโบสถ์จำนวนมาก ทำให้ได้ความรู้ว่าพระสมเด็จของหลวงปู่นาคบางองค์ที่เนื้อจัด ๆ นั้น เซียนพระบางท่านนำมาใส่ตลับทองตีว่าเป็นพระสมเด็จวัดระฆัง และเปิดราคาเป็นหลัก หมื่นหลักแสนนั้น ความจริงแล้วเป็นพระสมเด็จของหลวงปู่นาค วัดระฆัง ที่สร้างในยุคต้น ๆ ที่มีเนื้อหาส่วนผสมของพระสมเด็จวัดระฆังอยู่เป็นจำนวนมากนั่นเอง
         จากประสบการณ์ที่ได้ผ่านสายตาพระสมเด็จของหลวงปู่นาค วัดระฆังหลายร้อยองค์ทำให้มีความเข้าใจในธรรมชาติของเนื้อหาพระยุคดังกล่าว มากขึ้น  จนเกิดข้อสรุปภายในใจเกี่ยวกับคำว่าสูตรเนื้อพระสมเด็จตำรับวัดระฆัง    เพราะการดูเนื้อพระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆังจำนวนมาก ๆ จะทำให้เกิดความเข้าใจในคำดังกล่าวมากขึ้น  ทำให้ต่อไปไม่ว่าจะดูพระสมเด็จหรือพระตระกูลสมเด็จองค์ใด  ก็ไม่พ้นคำว่าสูตรเนื้อพระสมเด็จทุกองค์
เซียนผู้ศึกษาพระสมเด็จท่านใด ที่บอกว่าพระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆังที่ท่านพิจารณาอยู่ว่าเป็นพระสมเด็จเก๊ แสดงว่าท่านยังไม่เข้าใจคำดังกล่าวอย่างแท้จริง
             จากการศึกษาการสร้างพระสมเด็จพบว่าพระสมเด็จที่กล่าวกันว่ามีเนื้อหามวลสาร ของพระสมเด็จวัดระฆังเป็นจำนวนมากที่สุดนั้น ก็คือพระสมเด็จของหลวงปู่นาค วัดระฆังนั่นเอง และอีกวัดหนึ่ง ก็คือ พระสมเด็จของพระครูมูล วัดสุทัศน์ โดยเฉพาะพระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ ที่สร้างปี พ.ศ. 2485  มีเนื้อหามวลสารจัดมาก จนเซียนสมองใสบางคนทำการเซาะพิมพ์และขายเป็นพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ วัดระฆังไปเป็นจำนวนมาก จนทำให้ท่านต้องสร้างแม่พิมพ์ใหม่เป็นพระสมเด็จพิมพ์มีหน้าตา ปี พ.ศ. 2495 ทำขึ้นให้แตกต่างจากพิมพ์ทรงของพระสมเด็จเพื่อป้องกันการนำพระของท่านไปหลอก ลวงคนอื่น
              ส่วนพระสมเด็จที่มีเนื้อหามวลสารของพระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นจำนวนมาก ก็คงได้แก่ พระสมเด็จของหลวงตาพัน วัดอินทรวิหาร ,พระสมเด็จของหลวงปู่ลำภู วัดอินทรวิหาร,สมเด็จบางขุนพรหม ปี พ.ศ.. 2509   และพระชุดวัดประสาทบุญญาวาศ โดยเฉพาะ พิมพ์หลวงปู่ทวดสีขาว ,หลวงพ่อโต ,จันทร์ลอย เป็นต้น ที่มีส่วนผสมของเนื้อพระสมเด็จบางขุนพรหม ผสมอยู่จำนวนมาก
          
             พระสมเด็จที่ทำเทียมเลียน แบบพระสมเด็จของหลวงปู่นาค  แม้ว่าบางฝีมือทำพิมพ์ได้ใกล้เคียง  แต่ว่าจุดเด็ดขาดสำหรับการแยกแยะพระสมเด็จของหลวงปู่นาคที่แท้กับปลอมออกจาก กันอย่างฟันธงก็คือ เนื้อหามวลสารของพระสมเด็จ ซึ่งของเทียมเลียนแบบเนื้อหาจะดูกระด้างขาดมวลสารสำคัญที่เป็นผงวิเศษของ หลวงปู่นาคที่ทำขึ้นตามตำรับพรหมรังสีของสมเด็จโต และเศษชิ้นส่วนที่แตกหักของพระสมเด็จวัดระฆังที่ท่านหลวงปู่นาคสะสมเก็บไว้ เป็นมวลสารสำคัญของพระสมเด็จของท่าน  ดังนั้นสำหรับผู้ที่สนใจในพระสมเด็จหลวงปู่นาค  วัดระฆัง ควรสนใจในพระสมเด็จของท่านที่เนื้อจัดจริง ๆ เท่านั้น หรือปรึกษากับเซียนสายตรงพระสมเด็จหลวงปู่นาคเพื่อกันความผิดหวัง
 พระ สมเด็จของหลวงปู่นาค วัดระฆัง เป็นพระสมเด็จที่มีส่วนผสมของเศษแตกหักของสมเด็จวัดระฆังที่ท่านได้เก็บรวบ รวมไว้เป็นจำนวนมากจากการที่มีประชาชนนำเศษแตกหักของพระสมเด็จมาทิ้งไว้ที่ วัดและการค้นพบพระสมเด็จจำนวนมากบนหลังคาโบสถ์วัดระฆังซึ่งท่านได้นำพระ สมเด็จที่แตกหักทั้งหมดร่วมกับการสร้างผงพุทธคุณของท่านตามตำรับของสมเด็จโต  ทำให้พระสมเด็จของท่านโดยเฉพาะพระในยุคต้น ๆ  ช่วงปี 2485-2495 มีเนื้อหามวลสารจัดจ้านน่าบูชายิ่งนัก  ซึงนับว่าเป็นพระตระกูลสมเด็จที่มีเนื้อหามวลสารของพระสมเด็จวัดระฆังผสมไว้มากที่สุด  จะเป็นรองก็เพียงพระสมเด็จของพระครูสังฆ์ วัดอินทรวิหารเท่านั้น  อีกทั้งพุทธคุณก็สูงล้ำในด้านเมตตามหานิยม  เป็นที่เสาะแสวงหากันอย่างมาก
แต่เนื่องจากท่านได้สร้างพิมพ์ทรงของพระสมเด็จต่าง ๆ ไว้มากมาย   ในวงการจึงนิยมเล่นหากันเฉพาะพิมพ์นิยมบางพิมพ์ของท่านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวใครเห็นก็ทราบว่าเป็นพระของท่าน เช่น  พิมพ์เทวดาสามชั้นหูบายศรี  พิมพ์ปรกโพธิ์  พิมพ์ชิ้นฟัก พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จโต  พิมพ์ซุ้มระฆัง เป็นต้น  ส่วนพิมพ์อื่น ๆ ไม่ค่อยนิยมเช่าหากัน    สำหรับพระสมเด็จของท่านที่มีเนื้อหาจัดจ้าน  แก่ผงพระสมเด็จ  หรือ มีการฝังตะกรุดไว้เป็นพิเศษ ตั้งแต่  1ดอก  2 ดอก  หรือ 3 ดอก  จะหาได้ยากมากและเป็นที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก  โดยจะเช่าหากันในราคาสูงกว่าปกติหลายเท่า
เป็นที่น่าแปลกใจมากพระสมเด็จของหลวงปู่นาค วัดระฆังไปมีชื่อเสียงโด่งดังในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์เป็นอย่างมาก  ปัจจุบัน มีนักท่องเที่ยวจากประเทศดังกล่าวมากว้านซื้อกลับไปยังประเทศของตนเป็นจำนวน มาก ทำให้จำนวนพระสมเด็จของหลวงปู่นาค วัดระฆังในปัจจุบัน  มีจำนวนลดลงเป็นอย่างมาก ซึ่งในอนาคตพระชุดนี้คงจะดังระเบิดด้วยค่านิยมไม่แพ้พระสมเด็จบางขุนพรหม ปี 09 เป็นแน่แท้

สำหรับการเรียนเวทย์มนต์และวิปัสสนากรรมฐานนั้น ท่านได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์และศึกษากับ ๔สมเด็จ ดังนี้

        ๑.สมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์(ฤทธิ์) วัดแจ้ง (ปัจจุบันเรียกว่า “วัดอรุณราชวรวิหาร”)     ผู้เป็น อุปัชฌาย์ของหลวงปู่นาคนั่นเอง ท่านมีอาคมแก่กล้าในด้านทำเครื่องรางของขลัง      โดยเฉพาะตะกรุดหน้าผากเสือ สำนักนี้ไม่เป็นสองรองใคร ครั้นพอท่านเรียนวิชานี้สำเร็จ     การจะหาหนังเสือมาทำนั้นต้องไปฆ่าสัตว์ตัดชีวิตซึ่งมันบาปนัก     ท่านจึงนำมาดัดแปลงลงในโลหะต่างๆ เช่น ทองคำ เงิน นาค ทองแดง อลูมิเนียมและตะกั่ว    ลักษณะการลงและบริกรรมคาถากำกับในตัวตระกรุด ท่านก็จะทำไว้ให้มีฤทธิ์อยู่หลายแบบ     เช่นดอกนั้นเด่นด้านคงกระพัน ดอกนี้เด่นด้านค้าขาย เมตามหานิยม ดอกนู้นเน้นด้านมหาอุต ซึ่งในสมัยนั้นใครที่เข้าไปขอ     ท่านก็จะเมตตาหยิบให้พร้อมอธิบายวิธีการใช้ให้
(สำหรับวัดแจ้งหรือวัดอรุณนี้     จะมีอ้างในส่วนของ ตอนที่๓:พระพิมพ์ในวัดแต่มีออกนอกวัดด้วยนะครับ)
        ๒.สมเด็จ พระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์ราชวรวิหาร    สมัยนั้น ดำรงค์สมณศักดิ์เป็นพระธรรมโกษาจารย์    ซึ่งเป็นพระอนุสาวนาจารย์(พระคู่สวด)ในสมัยที่หลวงปู่นาคบวชเป็นพระภิษุนั่น เอง     หลวงปู่นาคได้รับการถ่ายทอดและศึกษาวิชาการลงยันต์ ๑๐๘ ชนิดครบสูตรในการลงยันต์เททองพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ซึ่งเป็นตำหรับวิชาสุดยอดของการสร้างพระกริ่งในสายวัดสุทัศน์นี้
(สำหรับ วัดสุทัศน์ หากตามประวัติจะทราบว่า หลวงปู่นาคท่านจะสนิทกับพระครูมูล    ซึ่งโยงถึงกันได้ว่าเป็นศิษย์ร่วมรุ่นเดียวกันนั่นเอง เกจิ ๒ ท่านนี้ไปมาหาสู่กันบ่อยครั้งครับ     จึงไม่แปลกที่พระสมเด็จของพระครูมูลถึงได้มีมวลสารพระสมเด็จเก่าของวัดระฆัง ไปผสมกันเป็นจำนวนมาก     และบางครั้งก็พบว่าพิมพ์สมเด็จมีหน้าตาและพิมพ์พระเกศบัวตูมของพระครูมูลมี มาปรากฎในแบบแม่พิมพ์ที่หลวงปู่นาคท่านกดพระด้วยครับ     จะมีไปขยายความกันในตอนที่๓:พระใน-นอก พิมพ์)
          ๓.สมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์(ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกุล ณ อยุธยา)    ในสมัยที่ท่านดำรงสมณศักดิ์เป็น พระธรรมไตรโลกาจารย์ และเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆัง     สืบต่อจากสมเด็จพระพุทธบาทปิลันท์ (ม.ร.ว.ทัศน์ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา)เป็น ที่ทราบกันดีอยู่แล้วนะครับว่า     สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ) ท่านเป็นศิษย์องค์สุดท้ายของสมเด็จพุทธจารย์โต ในสมัยบั้นปลายชีวิตสมเด็จโต สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ)     ท่านได้เรียนสำเร็จวิชาการทำผงวิเศษจากสมเด็จโตและเป็นกำลังสำคัญในการลบและ จัดทำผงวิเศษทั้ง๕ชนิด     เพื่อถวายให้สมเด็จโตสร้างพระวัดระฆังฯรุ่นแรก มาถึงยุคที่ท่านเป็นพระอาจารย์ให้หลวงปู่นาค     ท่านก็สอนการทำผงนี้ให้จนสำเร็จครบหลักสูตรเช่นกัน ดังนั้นพระสมเด็จที่หลวงปู่นาคท่านสร้างจึงเป็นพระที่มีสูตรการสร้างเหมือน กับพระสมเด็จวัดระฆังรุ่นแรกนั่นเอง
          ๔.สมเด็จ พระสังวรนุวงศ์เถร(ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม(วัดพลับ)เกจิท่านี้เป็นอาจารย์สอนวิปัสสนาให้กับหลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอกนั่นเอง หลวงปู่นาคก็ได้มาเรียนวิปัสสนากรรมฐานที่สำนักนี้จนสำเร็จเช่นกันหลังจากที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ) ท่านมรณภาพแล้ว หลวงปู่นาคก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตาราม องค์ที่๙

สำหรับเรื่องการสร้างวัตถุมงคลต่างๆ

         โดย เฉพาะประเภทพระเนื้อผงนั้น   ท่านจะเน้นถึงความสำคัญเกี่ยวกับผงวิเศษที่นำมาบดผสมในการสร้างทุกครั้ง ใช้ผงถูกต้องตามสูตรที่สมเด็จพุทธจาร์ยโตสร้างเลยครับ โดยเรียนมาจาก พุทธโฆษาจารย์ เจริญ  หลวงปู่ได้สร้างวัตถุมงคล ทั้งสมเด็จ และพระเนื้อผง และเหรียญ ไว้เป็นจำนวนมาก   เท่าที่ทราบไม่ต่ำกว่า 50 พิมพ์ขึ้นไป     ทางวัดจัดสร้างบ้าง   ลูกศิษย์สร้างบ้าง  และวัดอื่นสร้างบ้างและมาให้ท่านปลุกเสกให้บ้าง     พระยุคแรกประมาณปี 2484 จนถึงปี 2495 ท่านได้สร้างพระเป็์นจำนวนมาก โดยได้ผสมผงเก่าสมเด็จโต  ผงพระปิลันทร์ ผลอิทธิเจ ซึ่งหลวงปู่ได้ปลุกเสกเองตามตำรับสมเด็จโต พรหมรังสี    โดยได้นำผงเก่าทั้งหมดมาปั้นเป็นแท่งและเขียนอักขระยันต์ลงแผ่นกระดาน 108 ครั้้ง จึงได้ลบผงบนกระดานนำมาสร้างพระสมเด็จและพระเนื่้อผงต่างๆ  เช่น วัดประสาทในปี 2506  วัดจังหวัดอยุธยา  วัดละครทำ    วัดชิโนรส   และวัดอื่นอีกหลายวันที่ยังไม่ได้อ้างถึงครับ

การปลุกเสกวัตถุมงคล

       หลัง จากพิมพ์พระเสร็จ  หลวงปู่นาคท่านจะให้ลูกศิษย์นำพระเครื่องทั้งหมดไปไว้ในพระอุโบสถ    หลังจากทำวัตรสวดมนต์เย็นเสร็จแล้    ว ท่านจะปิดประตูโบถส์ อยู่เพียงลำพังท่านเดียว    และทำการปลุกเสกพระจนถึงเที่ยงคืน    จึงกลับกุฏิจำวัด รุ่งขึ้นจึงนำพระเครื่องทั้งหมดมาไว้ที่วิหารสมเด็จโต     ทำการปลุกเสกตอนกลางคืนอีกวาระหนึ่ง   จากนั้นก็นำมาทำการปลุกเสกในกุฏิของท่านอีกครั้งเป็นอันเสร็จสิ้นพิธีการ ปลุกเสกพระ สาเหตุที่ท่านทำเช่นนี้     ท่านได้เมตตาเล่าให้ฟังว่า...หลวงพ่อพระประธานในโบสถ์   ท่านศักดิ์สิทธิ์ เราเป็นเพียงตถาคตมาอาศัยสถานที่ท่านพำนัก     จะทำสิ่งใดก็ต้องบอกกล่าวท่าน และให้ท่านช่วยปลุกเสกให้ด้วยจึงจะถูกต้อง ...ส่วนที่นำเข้าวิหารสมเด็จโต    เพราะสมเด็จโตนี้ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯมาก่อน และ เป็นครูบาอาจารย์ขอข้า จะทำอะไรก็ต้องบอกกล่าวท่านก่อน    แล้วให้ท่านมาร่วมรับรู้และช่วยกันปลุกเสกแผ่พลังจิตพระเครื่องเหล่านี้ด้วย จึงจะสมบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น